คีรีวงศ์ Vs Cameron Vs บ้านวัดจันทร

5-9 กุมภาพันธ์ 2550
ดร.นิวัตร ตันตยานุสรณ์
ตอนที่ 1 ประเทศไทย

 


เกริ่นนำ
ในการเดินขึ้นเขาที่ภาคใต้ของประเทศไทยและการนั่งรถยนต์ขึ้นเขาที่ประเทศมาเลย์เซียใช้เวลารวม 4 วัน สิ่งที่ได้พบเป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ผมจึงนำเอาความรู้ที่ได้รับมาเล่าสู่กันฟัง “คีรีวงศ์ Vs Cameron Vs บ้านวัดจันทร์” คือเรื่องราวของภูเขาสามลูกระหว่าง “เขาคีรีวงศ์” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “เขาหลวง” จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย กับ “Cameron Highland” ซึ่งเป็นเทือกเขาในประเทศมาเลย์เซียและบ้านวัดจันทร์อ.แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ การเสนอจะเป็นการเปรียบเทียบด้านต่างๆ เช่น ความสูง ธรรมชาติและการดูแลรักษา เฟินที่ได้พบ การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมของทั้งสองประเทศที่สะท้อนแนวคิดความมีระเบียบ การรักษากฎหมายของทั้งสองประเทศ ส่วนผลที่ได้รับนั้น ผู้อ่านคงต้องใช้วิจารณญาณตัดสินเองว่าฝ่ายไหนจะดีกว่า ภาพประกอบถ่ายไม่ได้เต็มที่เนื่องจากปลั๊กไฟของมาเลย์เซียไม่เหมือนของเรา ไม่สามารถชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้ ทำให้แบตเตอรี่ในกล้องเหลือกำลังน้อยจนกระทั่งหมด จึงได้ภาพมาไม่มากเท่าที่ควรจะแสดง
ที่มา
หากเป็นเพราะความผูกพันทาง “พันธวาจา” ก็น่าจะใช่ ที่เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมเดินทางไปปักษ์ใต้แล้วทะลุเข้ามาเลย์เซียในครั้งนี้ ทั้งนี้เพราะเมื่อช่วงพืชสวนโลก 2549 เพื่อนต่างถิ่นที่มีพืชพันธ์ไม้ในหัวใจสองคนได้มาเยี่ยมชม Fern Paradise โดยทั้งคู่มีภูมิลำเนาที่หาดใหญ่ เมื่อเห็นการเลี้ยงดูเฟินของผม จึงพึงพอใจพร้อมเอ่ยปากว่ามีเฟินเก็บไว้บ้าง แต่ ดูแลไม่ค่อยดี เชิญชวนให้ไปดูได้ที่แหล่งเพาะเลี้ยงพืชพันธ์ต่างๆ “พันธวาจา” จึงเริ่มตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หาดใหญ่
เมื่อได้จังหวะที่ว่างเว้นจากภารกิจ ผมจึงโทรศัพท์นัดหมายวางแผนการล่วงหน้าไว้คร่าวๆ ผมเดินทางวันที่ 5 ช่วงเช้าจากเชียงใหม่ แวะสุวรรณภูมิ

รูปที่ 2

รูปที่ 1

รอเปลี่ยนเที่ยวบินไปหาดใหญ่ช่วงบ่าย 2 โมงถึง 3 โมงกว่า คุณเจิมและคุณวิศินมารับที่สนามบิน

จากนั้นไปแวะดูตลาดต้นไม้ในหาดใหญ่ที่ “ถนน 30 เมตร” (ที่นี่ตั้งชื่อถนนตามความกว้างของถนนนั้นๆ มีอีกเส้นชื่อ

“ถนน 80 เมตร”) จากนั้นได้ไปดูต้นไม้ที่สวนคุณเจิม ซึ่งเก็บไม้ใบมาตลอดชีวิตที่รับราชการกระทรวงเกษตรฯ

ผลที่ได้รับอย่างยั่งยืนในวันนี้คือ ลูกสาวชื่อคุณแมวสามารถตัดใบต้นไม้เหล่านั้นขายในท้องถิ่นได้อย่างพอเพียง ใบที่ตัดขายเช่น ฟิโลเลนดอล วาสนา เฟินข้าหลวงหลังลาย อโกนีมา และอื่นๆอีกมากมาย ราคาเฉลี่ยใบละ 2 ถึง 5 บาท ทำให้ครอบครัวอยู่ได้อย่างพอเพียง ผมจึงชื่นชมครอบครัวคุณเจิมเป็นอย่างยิ่งที่ดำรงชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเหมาะสม ใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข คือ มีงานทำ มีเงินใช้ มีเพื่อนฝูง ทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นภาระต่อคนอื่น
ที่บ้านสวน คุณเจิมได้ชี้ให้ดูเฟินที่ผมไม่เคยพบ 2-3 ชนิดจึงนำภาพมาให้สมาชิกได้ชมด้วยครับ ต้นแรกคุณเจิมบอกว่าคือเฟินลูกไก่ทอง (Cibotium Baromezt) (ภาพที่ 1) ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นเหง้าที่เรี่ยดิน แต่ต้นนี้เป็นเหง้าที่สูงขึ้นด้านบนดูเหมือนเป็นลำต้น

รูปที่ 3

ใบเป็นผิวมันเงา

แตกต่างจากเฟินลูกไก่ทองที่ผมมีในบ้านสวนสันทรายอย่างสิ้นเชิง อีกต้นเป็นเฟินข้าหลวงหลังลายแบบเลื้อย (Asplenium) (ภาพที่ 2-3) ใครทราบชื่อวิทยาศาสตร์กรุณาบอกด้วยครับ นอกจากนั้นก็มีกนกนารีหลากหลายพันธ์ที่ขึ้นกระจายไปทั่วสวน

เนื่องจากเป็นครอบครัวพอเพียง การดูแลจึงทำกันในครอบครัวตั้งแต่การตัดใบ ให้น้ำ ทำความสะอาดใบและส่งในเมือง

สวนจึงดูรกและเลอะ แต่หลากหลาย ส่วนเฟินมีเท่าที่คุณเจิมชี้ให้ดูเท่านั้น
เราเดินทางไปดูต้นไม้ในเมืองซึ่งมีเฟินน้อย และส่วนใหญ่จะเป็นเฟินที่สั่งมาจากที่อื่นเพื่อขายในท้องถิ่น หลังจากนั้น เราเดินทางไปกินอาหารทะเลที่ริมหาดชื่อร้านโกเข่ง ได้นั่งสัมผัสบรรยากาศริมทะเลสาบสงขลาอันกว้างใหญ่เห็นตะวันตกน้ำ ชมสถาปัตยกรรมริมทะเลสาบที่บ่งบอกถึงองค์ความรู้ของท้องถิ่นในการดำรงชีพด้วยการประมง ซึ่งจะแตกต่างกับคนทางเหนืออย่างยิ่ง (ภาพที่ 4-5-6-7) ภาพทั้งสี่เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่มีการสอนในห้องเรียน แต่สัดส่วนและหน้าที่ใช้สอยเป็นไปตามสภาพแวดล้อม ที่ตั้งและความต้องการ

จึงเป็นงานที่เห็นสัจจะแห่งโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา งดงามอย่างยิ่งนัก ผมพักโรงแรมในเมืองที่เงียบเหงามาก ทั้งชั้นมีผมนอนห้องเดียว พนักงานบอกว่า ตั้งแต่มีระเบิดเกิดขึ้น สภาพเศรษฐกิจในหาดใหญ่ทรุดลงอย่างมาก นักท่องเที่ยวไม่กล้ามาเที่ยว ตอนดึกร้านอาหารของโรงแรมขนาดใหญ่มีคนนั่งแค่โต๊ะเดียวที่เหลือ 20 กว่าโต๊ะว่างหมด นักดนตรีนักร้องเล่นไปตามสภาพอย่างน่าเบื่อหน่าย นี่คือ อิทธิพลของการวางระเบิดที่ผลของมันได้ทำลายเศรษฐกิจโดยรวมอย่างย่อยยับทั้งจังหวัด

รูปที่ 4

รูปที่ 5

รูปที่ 6

รูปที่ 7

 

พัทลุง-นครศรีธรรมราช
วันรุ่งขึ้น (6 ก.พ.) เช้าตรู่ 6โมง เราสามคนออกเดินทางจากหาดใหญ่ มุ่งหน้าไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยขับรถผ่านจังหวัดพัทลุง (ระยะทางจากหาดใหญ่ถึงนครฯประมาณ 300 กว่า กิโลเมตร) ระหว่างทางได้พบเฟินที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชายผ้าสีดาสายม่าน (Platycerium coronarium) ผมเห็นแล้วถึงกับอึ้งจึงถ่ายภาพมาให้สมาชิกได้เห็น ส่วนใหญ่จะไม่พบกับเจ้าของจึงไม่ได้สัมภาษณ์ ดังนั้นจึงไม่มีข้อมูลใดๆนอกเหนือจากภาพที่ถ่ายมาเท่านั้น (ภาพที่ 8-9-10-11-12)

รูปที่ 8

รูปที่ 9

รูปที่ 10

รูปที่ 11

รูปที่ 12


เราขับรถไปจนถึงบ้านคีรีทอง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ผมได้พบกับชาวบ้านพูดคุยกันด้วยไมตรีจิตที่ดีงาม น่าประทับใจ ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใสและช่วยเหลือเมื่อสอบถามเรื่องเฟิน ไม้สาย (Lycopodium) มีอยู่คนหนึ่งอาสาเดินนำไปชมเฟิน ระหว่างเดินไปตามทางในหมู่บ้านผมเห็นความใกล้ชิดกันระหว่างบ้านต่อบ้านแล้วชื่นชมที่มีการวางผังเชิงปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกล่าวคือ

รูปที่ 14

ถนนแคบแค่รถมอเตอร์ไซด์และคนเดิน รั้วบ้านมีบ้างไม่มีบ้าง ปลูกต้นไม้ที่กินได้ในบริเวณบ้าน ทำให้ระหว่างทางเดินร่มรื่น ผังหมู่บ้านเช่นนี้ คนแปลกหน้ามาจะเป็นที่รู้กันหมด จึงทำให้หมู่บ้านนี้ค่อนข้างปลอดจากอาชญากรรมยืนยันจากคนนำทาง เมื่อไปพบกลุ่มไม้สายทั้งหลายต้องขอบอกว่า

รูปที่13

“สวยงามมาก” มีบางต้นผมไม่เคยเห็น แต่ ทั้งหมดนี้มีข้อผิดพลาดอย่างแรง คือ ผมมัวแต่ตื่นเต้นดูและสอบถามหาเจ้าของ จึงไม่ได้ถ่ายภาพไว้เลยแม้แต่ภาพเดียว มาคิดได้เมื่อเดินทางกลับหาดใหญ่แล้ว ที่บ้านนี้ได้พบ เกล็ดหอยยมโดย หางสิงห์ สร้อยเหลี่ยม สร้อยกลม ช้องนางคลี่ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ข้อมูลจากผู้ใกล้ชิดเจ้าของคือ เขาเลี้ยงไว้ดูเล่นโดยไม่ขาย ทำให้ผมมีความอุ่นใจว่าเฟินเหล่านี้คงอยู่ที่นี่ต่อไปอย่างเหมาะสม
สถาปัตยกรรมชาวบ้านที่หมู่บ้านนี้ สัดส่วนบ้านสวยงามมีการใช้ใต้ถุนแบบทางเหนือ ด้านล่างเป็นดินเดิมเหมาะสมกับสภาพอย่างยิ่ง กระเบื้องมุงหลังคาเป็นดินขอแบบโบราณรูปร่างสวยงาม จึงถ่ายภาพมาให้ดู (ภาพที่ 13)
หลังอาหารเที่ยงแบบง่ายๆ คือข้าวผัดคนละจานที่ร้านอาหารริมลำธารที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอด เราเริ่มเดินเข้าป่าชื่อ “เขาคีรีวงศ์” โดยมีไกด์ท้องถิ่นชื่อ “เบิ้ล” (ภาพที่ 14) เป็นผู้นำ เบิ้ลเล่าให้ฟังว่า การดำเนินงานท่องเที่ยวที่นี่ กระทำโดย “ชมรมการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์” มีไกด์ 2 คน เพื่อพานักท่องเที่ยวขึ้นไปชมป่าเขา สามารถเดินไปนอนค้างคืนบนยอดเขาก็ได้ โดยเดินไปถึงบนยอด “เขาหลวง” ซึ่งมีความสูงประมาณ 2200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เบิ้ลเล่าว่า

รูปที่15

มีฝรั่งมาสำรวจพันธ์ไม้อยู่เรื่อยๆ ที่ยอดเขาหลวง เมื่อผมถามเฟิน “บัวแฉก” (Dipteris conjugarta) เบิ้ลบอกว่าเคยพบ แต่เนื่องจากเราทั้งสามอายุรวมกันมากกว่า 180 ปี (ภาพ 15) จึงไม่มีโครงการเดินไปนอนค้างคืน อย่างไรก็ตาม ระหว่างทางเดินขึ้นเขาคีรีวงศ์นั้นผมก็ได้พบอะไรหลายอย่างที่สามารถบอกเล่าถึงเรื่องราวและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เรื่องของธรรมชาติ เฟิน ไม้ป่า ไม้ปลูก ไม้กินและอื่นๆได้เป็นอย่างดี จึงไม่จำเป็นต้องขึ้นไปถึงยอดเขาหลวงก็ได้ เพราะเราก็เดินไม่ไหว และนี่คืออุปสรรคอย่างใหญ่หลวงสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของประเทศไทย ที่ไม่เคยมีแนวคิดพัฒนาถนนให้ขึ้นถึงยอดเขา ผมเองก็เคยคัดค้านมาเสมอว่าการขึ้นยอดเขาต้องเดินอย่างเดียว เพราะหากเราเปิดถนนไปถึงยอดเขาเมื่อไร สภาพแวดล้อมต้องถูกทำลายอย่างย่อยยับโดยสิ้นเชิง แต่ เมื่อผมเดินเขามาสองลูก คือครั้งที่คุณสอาด อยู่เย็น ชวนเดินขึ้นเขาภูเมี่ยงที่จังหวัดอุตรดิดถ์ ผมเดินไปได้แค่ 3ส่วน 4 ก็สิ้นสภาพ ร่างกายเดินต่อไม่ได้ต้องย้อนกลับลงมาอย่างสภาพ “คนเดี้ยง” ครั้งนี้ ที่เขาหลวง ผมก็ไม่สามารถเดินขึ้นไปได้อีก ด้วยความสูงชันของทางเดิน เรื่องการพัฒนาถนนขึ้นสู่ยอดเขาในประเทศไทย คงต้องเป็นปริศนาดำมืดกันต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะเดียงกันความเสื่อมโทรมของป่าก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช่หรือไม่ ที่การมีถนนขึ้นยอดเขาเป็นเหตุให้ป่าถูกทำลาย? อย่างไรก็ตาม จนบัดนี้ ยังไม่มีหน่วยงานไหนสามารถเสนอและได้ทำโครงการถนนขึ้นยอดเขาได้เลย ตรงกันข้ามกับมาเลย์เซีย เพื่อนบ้านเรา หากท่านอ่านตอนต่อไป ในหัวข้อ Cameron highland จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่า “เหตุใดมาเลย์เซียจึงมีการท่องเที่ยวที่เจริญกว่าไทย มีการรักษาสภาพแวดล้อมในป่าที่ดีกว่าไทย โดยการมีถนนขึ้นถึงยอดเขาสูง 6666 ฟุต”

ความสามัคคี
ทางเดินขึ้นเขาจากเชิงเขาด้านล่างไปจนถึงยอดของคีรีวงศ์ เป็นทางเดินกว้างประมาณ 1.00 เมตร พื้นเทคอนกรีตตลอดทาง

รูปที่ 17

รูปที่ 16

ต้นทางกว้างเมื่อถึงปลายทางแคบและบางช่วงเป็นดิน เบิ้ลเล่าว่าการก่อสร้างเป็นเงินของชาวบ้านที่ช่วยกันสละทรัพย์และแรงงานทำกันเอง เหตุเพราะว่า ที่ดินบนเขาส่วนใหญ่มีเจ้าของ ชาวบ้านปลูกต้นเงาะ มังคุด หมาก กล้วยและอื่นๆอีกมาก พร้อมกันนั้นก็ปลูกกระท่อมเล็กๆในที่ดินของตนเอง ส่วนการแสดงอาณาเขตไม่มีรั้วกั้นคงรู้กันเองว่าที่ดินใครกว้างไปถึงไหน

จากเหตุผลนี้เองทำให้เกิดการดูแลรักษาป่าโดยความรักในพืชผลที่ได้ปลูกไว้ ต้องมีการเก็บเกี่ยวโดยใช้รถมอเตอร์ไซด์บรรทุกลงมาเมื่อถึงฤดูกาล สิ่งเหล่านี้ เป็นการรักษาป่าโดยความสามัคคี ดังนั้นสภาพป่าที่เห็นจึงค่อนข้างดีและมีความสมบูรณ์ สิ่งที่ยืนยันได้คือ สภาพลำห้วยที่ยังไหลอย่างต่อเนื่องลงไปสู่เบื้องล่างกลายเป็นแม่น้ำให้ชาวเมืองได้ใช้บริโภค เฟิน (ภาพที่ 16- 17)
เราเดินไปจนถึงระดับสูงจากน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร โดยสังเกตได้จากการพบต้นสนสามใบซึ่งชอบขึ้นที่ความสูงในระดับเฉลี่ยประมาณ 600-800 เมตร เห็นต้น Cyathea หรือ Tree fern หรือมหาสะดัม สูงใหญ่กางใบกว้างเต็มที่อย่างอลังการและตั้งอยู่อย่างสง่างาม เห็นแล้วชื่นใจอย่างที่สุด (ภาพที่ 18-19 -20-21-22-23) ชาวบ้านมักจะขี่มอเตอร์ไซด์ขึ้นมาอาบน้ำห้วย ซึ่งลำน้ำใสสะอาด เย็นสบาย เมื่อกวักน้ำขึ้นมาล้างหน้า เราเดินทางสูงขึ้นไปอีกช่วงหนึ่ง แต่ก็ไม่พบเฟินแปลกดังที่คาด อาจด้วยระดับต่ำกว่า 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเลเฟินมักจะมีspecies ที่คล้ายคลึงกัน เช่น ข้าหลวงหลังลาย (Asplenium) กีบแรด (Angeopteris) โดยเฉพาะกนกนารี (Selleginella) ที่พบบนเขาคีรีวงศ์ มีทั้งสีฟ้า เขียว และชนิดปลายใบแฉกยาว ซึ่งทั้งมีขึ้นเป็นวัชพืชเต็มพื้นที่ไปหมด (ภาพที่ 24-30) ผมชี้มหาสะดัมกลุ่มนั้นให้เบิ้ลพร้อมกำชับว่า “ขอช่วยบอกชาวบ้านด้วยว่า อย่าให้ใครมาทำลายเป็นอันขาด หากกลุ่มนี้หมดไปเขาคีรีวงศ์หมดเสน่ห์ทันที” เบิ้ลบอกว่าไม่มีใครกล้าฟันอยู่แล้วครับ

รูปที่ 18

รูปที่ 19

รูปที่ 20

รูปที่ 20

รูปที่ 21

รูปที่ 22

 

รูปที่ 24

สรุปเขาคีรีวงศ์
เมื่อลงมาจากเขาแล้วจึงมีข้อสรุปเรื่องราวของ “คีรีวงศ์” ได้ดังนี้

รูปที่ 25


1. ระยะทางจากหาดใหญ่ ไปคีรีวงศ์-เขาหลวง ประมาณ 400 กม.
2. ระดับความสูงจากน้ำทะเล 800 เมตรที่คีรีวงศ์ และ2200 เมตรที่ยอดเขาหลวง
3. เฟินที่พบมีหลากหลาย แต่เนื่องจากไม่ได้เดินขึ้นบนยอดเขาหลวงจึงไม่พบพันธ์แปลกและหายาก
4. ปริมาณฝนตกต่อปีประมาณ 750 มิลลิเมตร (ฝน 8 แดด 4)
5. การเดินทางต้องเดินเท้าขึ้นยอดเขาเท่านั้นไม่มีถนนสำหรับให้ยานพาหนะใดๆขึ้นไปได้เลย
6. สภาพน้ำดีมาก ยังคงรักษาสภาพธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์
7. ความหลากหลายทางพืชพันธ์ มีการผสมระหว่างไม้ป่ากับไม้กินได้โดยชาวบ้านนำขึ้นไปปลูก จึงเป็นป่าผสมผสานเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์โดยไม่ทำลายสภาพป่า
8. มีหมู่บ้านด้านล่าง บนเขาเป็นที่แบ่งสรรทำมาหากินช่วยกันดูแลรักษา
9. ด้านบนเขาเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติที่เป็นป่าผสมผสานระหว่างไม้ป่ากับไม้กิน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากการสร้างของมนุษย์ (Man made tourism)

 

รูปที่ 26

รูปที่ 27

รูปที่ 28

รูปที่ 29

รูปที่ 30

ภาพประกอบ (31-37) เป็นภาพของเฟินที่ขึ้นอยู่ทั่วไปอย่างสมบูรณ์บนเขาคีรีวงศ์ ภาคใต้ ซึ่ง หากจะเปรียบเทียบกับภูเขาในภาคเหนือที่มีฝน 4 แดด 8 จะเห็นได้ชัดเจนว่าความสมบูรณ์ของเฟินเล็กเฟินน้อย แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ ทางเหนือ (บ้านวัดจันทร์) ดูเหมือนแผ่นดินแห้งแล้ง เฟินเล็กเฟินน้อย เหี่ยวเฉา รอน้ำฝนธรรมชาติ ที่จะโปรยปรายลงมาให้เกิดความชุ่มฉ่ำตั้งแต่เดือน มิถุนายน เป็นต้นไป โดยมีปริมาณน้ำฝนต่อปีประมาณ 350 มิลลิเมตร น้ำฝนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงรักษาสภาพความสมบูรณ์ของเฟินทุกชนิดในป่าและสภาพเช่นนี้เป็นเหมือนกันทั่วทั้งโลก การรักษาต้นไม้ใหญ่ในป่าเพื่อเป็นการรักษาต้นน้ำจึงเท่ากับเป็นการรักษาเฟินของโลกเช่นเดียวกัน
ผมกลับมานอนที่หาดใหญ่อีกหนึ่งคืน เพราะคุณเจิมได้วางแผนว่าจะไปที่Cameron highland ประเทศมาเลย์เซีย ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็ได้ชวนภรรยาให้เดินทางมาสมทบเพื่อไปCameron พร้อมกัน

รูปที่ 31

รูปที่ 32

รูปที่ 33

รูปที่ 34

 

รุปที่ 35

รูปที่ 36

รูปที่37

 

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------